วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานที่

การเลือกสถานที่ปลูกผัก


 1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด
อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนักเพื่อความสะดวกในการ
ปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ

2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผักมากชนิดที่สุดเพื่อจะได้มีผัก
ไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควรพิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์
วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือซองที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา
วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง


เนื่องจากเมล็ดพืชผักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มีระบบรากละเอียดอ่อน ถ้าเกษตรกรเตรียมดินไม่ดี


ก้อาจมีผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชผักได้ ดังนั้น ก่อนการปลูกพืชควรมี

การปรับสภาพดินให้เหมาะสมเสียก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการปลูกผักหรือพืชชนิดอื่นโดยการ
ปล่อยนํ้าให้ท่วมแปลงแล้วสูบออก เพื่อให้นํ้าชะล้างสารเคมีและกำ จัดแมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน แล้ว
จึงทำ การไถพลิกหน้าดินตากแดดไว้ เพื่อทำ ลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูที่อาศัยอยู่ในดินอีกครั้ง จากนั้น
เกษตรกรควรจะปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยใช้ปูนขาว
ปูนมาร์ล หรือ แร่โดโลไมท์ อัตรา
200-300 กิโลกรัม/ไร่ แล้วรดนํ้าตามหลังจากการใส่ปูนขาวเพื่อ

ปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้เป็นกลางนอกจากนี้ควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1
,000-2,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นพืชผักมีความแข็งแรง
สามารถต้านทานต่อการเข้าทำ ลายของโรคและแมลงได้


วิธีการปลูกผัก




วิธีการปลูกพืชผัก เราสามารถปลูกได้ 2 วิธี
1. การปลูกโดยอาศัยส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช ประกอบด้วย ราก ลำต้น ใบ โดยการปักชำ การตอนกิ่ง การโน้มกิ่ง การแยกหน่อหรือหัว โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ราก ส่วนใหญ่นำมาปักชำ เช่น รากมันเทศ เป็นต้น
1.2 ลำต้น นำมาปลูกโดยการปักชำ การตอนกิ่ง การโน้มกิ่ง และการแยกหน่อหรือหัว ลำต้นแบ่งออกเป็นหลายชนิด ได้แก่
ลำต้นจริง นำมาปลูกด้วยการปักชำ เช่น มันเทศ สะระแหน่ โหระพา เป็นต้น การปลูกด้วยการตอน เช่น ชะอำ เป็นต้น การปลูกด้วยการโน้มกิ่ง เช่น มันเทศ สะระแหน่ เป็นต้น
2. การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง เป็นวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปกับพืชผักที่มีการเจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่ไม่มีปัญหาน้ำและศัตรูพืชมากนัก พืชผักที่ปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงมักเป็นพืชผักที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และพืชผักที่มีระบบการงอกของรากไม่ดี ไม่สามารถเพาะกล้าแล้วย้ายปลูกได้ เมล็ดมีขนาดใหญ่ เมล็ดมีราคาถูก มีการปฏิบัติดูแลรักษาง่าย มีโรคและแมลงรบกวนน้อย หรือพืชผักที่ใช้รากหรือหัวเป็นอาหารก็นิยมปลูก
ด้วยเมล็ดโดยตรง วิธีการปลูกพืชผักด้วยเมล็ดมีดังนี้
2.1 การหว่านเมล็ด เป็นวิธีการที่ใช้กับพืชผักที่ใช้ใบเป็นอาหาร มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น โตเร็ว มีระยะการปลูกถี่ ลำต้นตั้งตรงเรียวเล็ก และเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแออัด เมล็ดหาได้ง่ายและมีราคาถูก บางชนิดมีเมล็ดขนาดใหญ่สะดวกในการหว่านลงในแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี แต่เมล็ดพืชผักบางชนิดมีขนาดเล็ก การหว่านให้ทั่วทั้งแปลงกระทำได้ยาก มักจะขึ้นเป็นกระจุก เพราะการหว่านกะปริมาณเมล็ดไม่ได้ ควรใช้ทรายหยาบ ผสมกับเมล็ดพันธุ์ก่อนหว่าน โดยใช้อัตราส่วนเมล็ดพันธุ์ 1 ส่วน ผสมกับทราย 5 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนหว่าน ก่อนนำเมล็ดไปปลูกควรนำเมล็ด แช่น้ำไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวแล้วผึ่งลมให้สะเด็ดน้ำก่อนนำไปหว่าน เมล็ดจะงอกเร็วขึ้น พืชผักที่ปลูกด้วยวิธีนี้ เช่น ผักบุ้ง ผักกาดกวางตุ้ง คื่นช่าย ผักชี เป็นต้น

 
2.2 การหว่านเมล็ดและถอนแยก เป็นวิธีที่ใช้กันมากในการปลูกพืชผักทั่วไปที่สามารถย้ายกล้าได้  พืชผักที่นิยมปลูกโดยวิธีนี้ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว เป็นต้น หลังจากหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ทำการถอนแยกเพื่อจัดระยะปลูก
ให้ห่างกันพอสมควรไม่แน่นหรือห่างกันเกินไป และนำต้นกล้าที่ถอนแยกไปปลูกในระยะที่ห่างกันหรือนำไปปลูกในแปลงปลูกก็ได้ โดยการจัดระยะระหว่างต้นคำนึงถึงทรงพุ่มใบของพืชผัก ระวังอย่าให้แน่นจนเกินไป อาจเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูพืช และการระบาดของโรคพืชผักได้

 
2.3 การปลูกด้วยการหยอดเป็นหลุม นิยมใช้กับพืชผักที่มีขนาดใหญ่ เมล็ดใหญ่ ต้นกล้าแข็งแรง และมีการเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น ปกติการเตรียมหลุมปลูกต้องมีระยะการปลูกตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลังพืชผักงอกแล้วต้องถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออก เหลือไว้หลุมละ 2-3 ต้น พืชผักที่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ แตงต่าง ๆ ฟักทอง แฟง บวบ มะระ เป็นต้น